วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

GTH

ปี2547 3 ค่ายหนังไทยยักษ์ใหญ่อันประกอบด้วย จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ และหับโห้หิ้น บางกอก ประกาศรวมตัวเป็นพันธมิตร ตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ “จีเอ็มเอ็ม ไท หับ” หรือ “GTH”




มุ่งเน้นสร้างหนังไทยในระบบ “สตูดิโอ” ที่ครบวงจร, มีระบบการทำงานที่ชัดเจน, การจัดการที่มีมาตรฐานสากล, ผลประโยชน์ที่เป็นธรรมต่อคนทำงานและพร้อมที่จะดูแลและให้ความช่วยเหลือกับ FILM MAKER ทั้งเก่าและใหม่ อย่างใกล้ชิด โดยยึดหลัก 3 ประการคือ “สดใหม่-คุณภาพ-จริงใจ” ซึ่งทั้งสามประการเปรียบเสมือนคุณลักษณะ ของทั้งสามบริษัทที่มีมาช้านาน โดย GTH ได้วางเป้าผลิตหนังไทยใน “กระแสหลัก” และเป็นหนังที่สร้างความพึงพอใจให้กับมวลชน




วิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำให้แบรนด์มีคุณค่า โดยอ้างอิงองค์ประกอบของคุณค่าแบรนด์ทั้ง 4 ของ David Aaker ดังนี้



Brand Awareness
การสร้าง Brand Awareness ของ GTH นั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกันทั้งการสร้าง Brand Awareness ทั้งองค์กรหรือเป็นการสร้างการรับรู้เฉพาะของภาพยนตร์เรื่องที่จะเข้าฉายใหม่ๆ ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การเลือกช่องทางการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นโฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร หนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ การสร้าง Brand Awareness ทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากนั่นก็คือ Twitter และ Facebook นั่นเอง ซึ่งการสร้าง Brand Awareness อย่างนี้ก็ถือเป็น social media เช่นกัน อย่างเช่นใน Twitter GTH มีกิจกรรมทางการตลาดมากมายใน Twitter ที่คอยกระตุ้นให้เกิดการบอกต่อและขยายจำนวน Follower พร้อมกับสร้างความใกล้ชิดระหว่างแฟนหนังกับทางค่ายได้เป็นอย่างดี ขณะที่กิจการอื่นๆอาจจะมี Twitter เพียงเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ในลักษณะพูดฝ่ายเดียว หรืออาจจะการสานสัมพันธ์กับลูกค้าบ้างผ่านบทสนทนา ก่อให้เกิด Brand Awareness แต่ก็ไม่ได้ครบเครื่องแบบที่ GTH ทำ และ GTH ใช้ Fan Page ใน Facebook ที่นอกจากจะใช้ในลักษณะของการประชาสัมพันธ์แล้ว แต่ด้วยการที่พยายามพูดคุยในลักษณะของมนุษย์มากกว่า ทำให้บรรดา Fan เข้ามาเรื่อยๆ ทำให้เกิดการรับรู้ Brand GTH อยู่ตลอดเวลา ไม่จำกัดเฉพาะภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง










Brand Loyalty
การสร้าง Brand Loyalty ของ GTH นั้นคือการรักษาคุณภาพของงานภาพยนตร์และซิทคอมต่างๆ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อให้ผู้ชมมาดูหนังแล้วรู้สึกมีประสบการณ์ร่วมไปด้วยกับหนังหรือแม้แต่การนั่งดูซิทคอมที่บ้านก็สามารถได้รับความสนุกสนานอย่างเต็มที่ โดยจุดเด่นของ GTH ก็คือหยิบยกเอาชีวิตของคนธรรมดาทั่วไปมานำเสนอเป็นภาพยนตร์ ให้คนทั่วไปที่เป็นที่มาของเรื่องได้ดูกันและ GTH ก็มุ่งมั่นที่จะทำหนังที่ฉีกตลาดไปจากเดิมใหม่ๆ อยู่เสมอ จุดเด่นและคุณภาพเหล่านี้เองที่ทำให้ ค่ายหนัง GTH เป็นที่นิยมในปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น








Perceived Quality
GTH นั้นเป็นค่ายหนังที่เกิดขึ้นมาได้ไม่นานแต่ก็เป็นค่ายหนังที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในหมู่คอภาพยนตร์ไทย ด้วยเอกลักษณ์ที่ GTH มีทั้งในเรื่องของเนื้อหาที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและกระแสนิยมในสังคมหรือเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่ทุกคนมองข้าม ภาพยนตร์ของ GTH นั้นสามารถชมได้ทั้งครอบครัวและตอบสนองได้ทุก lifestyles ของคนในสังคม และในภาพยนตร์และซิทคอมทุกเรื่องของ GTH นั้นจะแฝงไปด้วยแนวคิดเสมอทำให้ผู้ชมได้รับประโยชน์จากแนวคิดใหม่ๆ ในภาพยนตร์กลับไปใช้ในชีวิตจริงได้และในบางโอกาสนั้น GTH ยังได้ในการสนับสนุนและร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคมอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น “ เวิร์กชอปสร้างไอเดีย เพื่อการร่วมปฏิบัติการเชียงใหม่เอี่ยม ” เป็นต้น






Brand Associations
เมื่อพูดถึงค่ายหนัง GTH แล้วนั้นสิ่งที่ทุกคนจะนึกถึงเป็นสิ่งแรกคือนักแสดง เพราะกลุ่มนักแสดงของ GTH นั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นและดารา นักร้องที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักเมื่อเวลาไปออกรายการโทรทัศน์หรือเกมส์โชว์ต่างๆ นั้น กลุ่มนักแสดงของ GTH จะไปกันเป็นทีมทำให้คนส่วนใหญ่จดจำได้ ความสนุกสนานและขำขัน มุขต่างๆ ในภาพยนตร์หรือซิทคอมของ GTH นั้นก็เป็นสิ่งที่ทุกคนจะนึกถึงเช่นกันเพราะในภาพยนตร์และซิทคอมแต่ละเรื่องจะสอดแทรกมุขและเป็นที่ติดปากของผู้ชม






การคุ้มครองแบรนด์ผ่านกฎหมาย (IP Protection)
จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ จีทีเอช เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์ไทย เป็นค่ายหนังในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เกิดจากการร่วมทุนของ 3 บริษัท คือ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ของ วิสูตร พูลวรลักษณ์ และหับ โห้ หิ้น ฟิล์ม(ในเครือแกรมมี่) ของ จิระ มะลิกุล โดยชื่อบริษัทใหม่ มาจากชื่อต้น และอักษรย่อหน้าชื่อของบริษัทร่วมทุนทั้งสาม ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ได้แก่ G (51%) T (30%) และ H (19%) และได้จดลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์แต่ละเรื่องเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบภายใต้เครื่องหมายการค้า GMM THI HUB CO.,LTD.






อะไรเป็นแรงผลักดันความสำเร็จในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ไทย



1. การรักษาคุณภาพของผลงานทุกชิ้น เพราะคุณภาพของภาพยนตร์และนักแสดงนั้นตัวดึงดูดให้ผู้ชมรู้สึกอยากจะชมภาพยนตร์และรู้สึกว่าการที่ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนั้นมีความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป

2. ความน่าสนใจของ Teser แม้ว่าระยะเวลาของการฉาย Teser นั้นจะเป็นเพียงเวลาสั้นๆ แต่ก็สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกอยากมาชมภาพยนตร์หรือสนใจว่าเนื้อหาเต็มๆ ของภาพยนตร์เรื่องนั้นเป็นอย่างไร

3. เนื้อหาสาระในภาพยนตร์และซิทคอม เนื้อหาสาระนั้นก็เป็นส่วนนึงที่ขาดไม่ได้ในงานภาพยนตร์ของ GTH ซึ่งเนื้อหาที่ GTH นำเสนอนั้นเป็นเนื้อหาที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้เป็นอย่างดี

4. การวางแผนการทำการตลาด การวางแผนการทำการตลาดของ GTH นั้นซึ่งคุณวิสูตร พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด ก็ได้อธิบายไว้ว่าหลักๆแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรกคือ วันที่ตัดสินใจที่จะสร้างหนัง “อย่างแรกเราต้องตอบให้ได้ว่าหนังจะขายอะไรและขายยังไง อย่างตอนนี้ผมกำลังทำหนังชีวิตเด็กสอบ Entrance 1 ปี รูปแบบเป็นหนังสารคดี แต่ตอนตัดต่อเสร็จจะออกมาเป็นหนังเรื่องหนึ่งที่ไม่เป็นสารคดี เพราะเราจะไม่ถ่ายแบบบทสัมภาษณ์ เราจะถ่ายตามชีวิตเด็กอีกทีหนึ่งแล้วจะดูสนุก ฉะนั้น Day 1 ที่เราอนุมัติ Project เราต้องตอบใจเราให้ได้ก่อนว่า Big Idea ของหนัง คือ เรื่องอะไร พอเราตอบตัวเองได้ เราก็โอเคอนุมัติ เราขายเรื่อง Entrance ครับ ขายเรื่องชีวิตเด็กม.ปลายปีสุดท้ายก่อนสอบ Ent’ ซึ่งจะเป็นช่วงที่เข้มข้นที่สุดในชีวิตของเด็กวัยรุ่น เราก็จับประเด็นนี้ขึ้นมา บออกกับตัวเองว่า อย่าลืม Big Idea นี้นะ” โดยที่ในระหว่างการถ่ายทำนั้นก็จะมี Marketing สอดแทรกเข้าไปเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมนั่นก็คือ การทำ Tie in สินค้าหรือ Brand ต่างๆเข้าไปในภาพยนตร์นั่นเอง มาช่วงเวลาที่ 2 ซึ่งเป็นจังหวะที่การตลาดจะถูกหยิบยกมาใช้งานมากที่สุดนั่นก็คือ 3 เดือนสุดท้ายก่อนที่หนังจะเข้าฉาย ซึ่งจะรวมไปถึงการวางโปรแกรมให้หนังออกฉายในช่วงจังหวะที่ดีที่สุดหรือ Best Timing ซึ่งก็จะมีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องนั่นก็คือ การวางโปรแกรมของหนังเรื่องอื่นๆ ซึ่งโดยปกติแล้วค่ายหนังแต่ละค่าย ไม่ว่าจะเป็นไทยหรือเทศก็จะรู้โปรแกรมโดยรวมล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน และถ้าไม่สุดวิสัยจริงๆ ทุกคนก็จะพยายามสับหลีกโปรแกรมไม่ให้ชนกันเพื่อให้หนังของตนมีโอกาสการขายมากที่สุด “คือการฉายหนัง บางทีมันต้องเลือก The Best Timing เหมือนกัน ต้องเลือกช่วงเวลาหรือโอกาสที่ดีที่สุด คือ ถ้าเรามองว่าเราเข้าหนังสัปดาห์นั้น แล้วเราไม่ Win เป็นเบอร์หนึ่ง เราก็ไม่อยากเข้า อันนี้ฟังแล้วอาจจะดูขี้คุยไปหน่อย แต่ว่าอันนี้ถือเป็นกฎของการเข้าหนังในสัปดาห์นั้นเลยครับ คือถ้าเราไม่เป็นที่หนึ่ง เราก็ไม่น่าเข้า อันนี้คือ กฎของเราเอง เนื่องจากเราถือว่าต้นทุนเราสูง ถ้าเราไม่ขึ้นเบอร์หนึ่งในสัปดาห์นั้น เกิดเราไปอยู่เบอร์ 2, 3 หรือ 4 มันจะมีผลต่อการเก็บรอบ เก็บโรงฉายในสัปดาห์ต่อๆ ไป เพราะต้นทุนเราค่อนข้างแบกรับเยอะ เพราะเราไม่ได้ทำหนังแบบกะเลวกะราด ฉะนั้นการที่เราเอาหนังเข้าฉายแล้วไปอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ก็ได้ มันไม่ใช่แนวคิดของเรา” กับอีกส่วนที่ถือเป็นหัวใจของการ Release หนัง ก็คือ การโปรโมทหนัง ซึ่ง GTH นี้ก็จัดว่าเป็มปรมจารย์ในการสร้างกระแสของหนังอยู่แล้วด็ได้จากความสำเร็จของหนังที่ผ่านมาหลายต่อหลายเรื่อง







สมาชิก


พิมพ์พิศุทธิ์ ม่วงเขียว ID.1500310949
เอมอร เชียงโหล ID.1500311467
วริษฐา จันไพบูลย์กิจ ID.1500331440
ฐิติพร เรืองศิริ ID.1500319981
ญาณิศา ฉายปิติศิริ ID.1500309057
พรอมล อินภิชัย ID.1500319973
พิชญาวี ยังประโยชน์ ID.1500331770